วันจันทร์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2564

ส่วนที่ 2 การวิเคราะห์ข้อมูลการประเมินศักยภาพของหมู่บ้าน (จุดอ่อน จุดแข็งโอกาส ภัยคุกคาม)

2.1 การวิเคราะห์ปัจจัยภายใน หรือสภาพแวดล้อมภายใน (จุดอ่อน จุดแข็ง) จะทำให้หมู่บ้านทราบถึงจุดเด่น และข้อเสียเปรียบของหมู่บ้าน

       (1) จุดอ่อนWeakness คือ ลักษณะหรือข้อด้อยของหมู่บ้านเมื่อเทียบกับหมู่บ้านอื่น  (เป็นปัจจัยภายในที่หมู่บ้านสามารถเปลี่ยนแปลงและพัฒนาได้)

          (๑.๑) ประชาชนในหมู่บ้านขาดความกระตือรือร้นในการพัฒนา

          (๑.๒) ประชาชนบางกลุ่มยังขาดอาชีพที่มั่นคง

          (๑.๓) ประชาชนในหมู่บ้านมีการศึกษาอยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำ

          (๑.๔) ประชาชนในหมู่บ้านมีการอพยพแรงงานไปประกอบอาชีพนอกพื้นที่ หรือประเทศเพื่อนบ้าน

          (๑.๕)  ในหมู่บ้านขาดบุคลากรที่มีความชำนาญในการพัฒนาหมู่บ้านอย่างจริงจัง

          (๑.๖) ประชาชนในหมู่บ้านประสบปัญหาที่ดินทำกินอย่างต่อเนื่อง จากสภาพภูมิประเทศมีน้ำท่วมขังเป็นเวลานาน

         (2) จุดแข็งStrength คือ ศักยภาพความสามารถหรือข้อเด่นของหมู่บ้านเมื่อเทียบกับหมู่บ้านอื่น (เป็นปัจจัยภายในที่หมู่บ้านสามารถเปลี่ยนแปลงและพัฒนาได้)

          (๒.๑) มีระบบโครงการพื้นฐาน เช่น ระบบการขนส่ง ระบบไฟฟ้า ที่สมบูรณ์

          (๒.๒) มีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ เช่น ดิน แหล่งน้ำ ป่า สามารถเพิ่มมูลค่าของผลผลิตทางการเกษตร หรืออุตสาหกรรมได้เป็นอย่างดี

          (๒.๓) ประชาชนในหมู่บ้านทั้งหมดเป็นชาวไทยนับถือศาสนาอิสลาม ยึดมั่นในศาสนา วัฒนธรรม

และขนบธรรมเนียมประเพณี

          (๒.๔) ประชาชนในหมู่บ้านมีความรักใคร่สามัคคี

2.2 การวิเคราะห์ปัจจัยภายนอก หรือสภาพแวดล้อมภายนอก จะทำให้หมู่บ้านทราบถึงโอกาสและอุปสรรคการทำงานของหมู่บ้าน

      (1) โอกาส Opportunity (ปัจจัยภายนอกที่เป็นผลบวกที่หมู่บ้านไม่สามารถควบคุมได้)

          (๑.๑) มีหน่ายงานทั้งภาครัฐ และเอกชนที่หลากหลาย และพร้อมที่จะให้ความร่วมมือในการพัฒนา ช่วยเหลือ และบริการประชาชน

          (๑.๒) มีงบประมาณในการช่วยเหลือ ประชาชน กลุ่มอาชีพต่างๆในหมู่บ้านอย่างต่อเนื่อง

      (2) อุปสรรคThreat (ปัจจัยภายนอกที่เป็นผลลบที่หมู่บ้านไม่สามารถควบคุมได้)

          (๒.๑) เหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้

          (๒.๒) ปัญหาในหมู่บ้านขาดบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ และเสียสละ ในการให้ความรู้ ความเข้าใจ ตลอดจนถึงในเรื่องการพัฒนาหมู่บ้าน

          (๒.๓) ปัญหาด้านงบประมาณในการพัฒนาไม่เพียงพอ และกำหนดขอบเขต ระเบียบ กฎหมายรวมถึงข้อปฏิบัติ ไม่สอดคล้องกับความต้องการ หรือการบริหารงานภายในหมู่บ้าน

2.3 เป้าหมายการพัฒนา (วิสัยทัศน์ , Vision) ของหมู่บ้าน

(เป้าหมายการพัฒนา คือ เป้าหมายในอนาคตที่หมู่บ้านต้องการที่จะเป็น)

 “ส่งเสริม สนับสนุน พัฒนาหมู่บ้านสู่วิถีชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง”

2.4 โปรแกรมวิเคราะห์ข้อมูลชุมชนในการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบูรณาการวางแผนงาน (CIA)

      หมู่บ้านสามารถนำโปรแกรม CIA มาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลของหมู่บ้าน เพื่อสะท้อนสภาพปัญหาและจุดเด่นของหมู่บ้านได้ โดยการใช้ฐานข้อมูล จปฐ. และ กชช.2ค. กรอกลงในโปรแกรมสำเร็จรูปซึ่งโปรแกรมจะวิเคราะห์ข้อมูลเป็น 5 ด้าน ได้แก่ การพัฒนาด้านอาชีพ การจัดการทุนชุมชน การจัดการความเสี่ยงชุมชน
การแก้ปัญหาความยากจน การบริหารจัดการชุมชน การใช้โปรแกรมดังกล่าวนอกจากเพื่อการวิเคราะห์สภาพความเป็นจริงของหมู่บ้านแล้ว ยังสามารถวิเคราะห์ร่วมกับข้อมูลที่ได้จากการทำ
SWOT  เพื่อให้ได้ข้อมูลที่สมบูรณ์และตรงตามข้อเท็จจริงมากที่สุด






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของหมู่บ้าน

1.แผนที่หมู่บ้าน 2. ประวัติความเป็นมาของหมู่บ้าน คำว่า  “ ลูโบ๊ะลือซง ” เป็นชื่อที่เรียกภาษา  “ ยาวี ” หรือภาษามลายูท้องถิ่นซึ่งแปลเป็นภาษ...